เสริมหน้าอก (Breast Augmentation) เป็นการผ่าตัดที่มีความนิยมมากทั่วโลก การเสริมหน้าอก ทำนม นั้นมีวิวัฒนาการมาโดยตลอด ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าด้วยวัสดุเสริมหน้าอกรุ่นใหม่ และเทคนิคการผ่าตัดที่ดีขึ้นมาก การควบคุมสภาวะปลอดเชื้อและห้องผ่าตัด ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและมีผลแทรกซ้อนต่ำมาก
ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการศัลยกรรมตกแต่ง เสริมหน้าอก ทำนม ศัลยกรรมหน้าอก (Breast surgery) และศัลยกรรมจมูก (เสริมจมูก) และใบหน้า (Nose& Facial surgery) ประสบการณ์มากกว่า 17 ปี
เทคนิกทางด้านผ่าตัดศัลยกรรมเต้านม (เสริมหน้าอก) ในปัจจุบันมีการเสริมเต้านมหลากหลายวิธี สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน มีข้อดี คือ ได้ผลดี และค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
ข้อดีของวิธีการนี้ คือ เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเนินอกแห้ง และมีไขมันส่วนเกินที่ส่วนอื่น ของร่างกาย แต่วิธีการนี้ก็มีข้อเสียอยู่บ้างนั่นคือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น การยุบตัวของไขมันที่อาจต่างกัน และการถ่ายเอกซเรย์ตรวจเต้านมอาจทำได้ยากมากขึ้น
ข้อดีของการเสริมเต้านมโดยการฉีดไขมันตัวเอง ก็คือ เป็นเนื้อเยื่อตนเอง แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องขนาดที่ได้รับและค่าใช้จ่ายสูง
ชนิดของซิลิโคนจะแบ่งได้เป็น ชนิดถุงซิลิโคนเจล และ ถุงน้ำเกลือ ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้ถุงซิลิโคนเจล เพราะมีความปลอดภัยสูงและสัมผัสเหมือนเต้านมจริงมากกว่า
เมื่อมาดู วิวัฒนาการ การเสริมหน้าอก เริ่มจากการเสริมเหนือกล้ามเนื้อ ( ราว 60 ปีก่อน) มาเป็น การเสริมหน้าอกใต้กล้ามเนื้อ แบบ Dual plane ( 30 ปีก่อน)
โดย อจ.พีระ ได้นำเสนอเทคนิคนี้ ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ ISAPS world 2020 เทคนิคการวางซิลโคนที่อาจารย์พีระนำเสนอในงานประชุมนานาชาติวิธีนึ้ มีข้อเด่น 3 อย่าง ได้แก่ ไม่ตัดกล้ามเนื้อจนขาดออกจากตำแหน่งยึดเกาะ เพื่อป้องกันปัญหาซิลิโคนขยับกระตุกเวลาออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อ (Prevent animation) เพิ่มความแข็งแรง แนวฐานอก ป้องกันการหย่อนตัว ด้วยการเสริมชั้นกล้ามเนื้อ อีกชั้นหนึ่ง รองรับน้ำหนักของซิลิโคน (Strong support) หน้าอกเคลื่อนไหวดี นิ่มเร็วขึ้น ( Good motion)
เทคนิคการใช้กรวย ( FUNNEL ) วัสดุนำเข้า ช่วยในการใส่ซิลิโคนหน้าอกโดยไม่สัมผัสกับขอบแผล ลดความเสี่ยงพังผืด
เทคนิคการส่องกล้องแบบ ENDOCOPY ผ่าตัดทางรักแร้ เจ็บน้อยลง ลดพังผืดได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับผ่าตัดทางรักแร้แบบเดิม
แผลผ่าตัดเสริมหน้าอก โดยมากแล้วจะมีอยู่ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ รักแร้, ปานนม และ ฐานหน้าอก ในแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสีย จุดเด่นแตกต่างกันไป ดังนี้
แผลรักแร้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการซ่อนแผลไว้ที่รักแร้ และลักษณะเต้านมเหมาะสมกับซิลิโคนที่เลือก โดยไม่ได้ต้องการการแก้ไขโครงสร้างเต้านมมากเกินไปนัก
การทำนมแนวแผลจุดนี้ไม่ได้รับความนิยม เพราะความเสี่ยงเกิดพังผืดสูงสุด ( ผลจากงานวิจัย ) จากการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียจากท่อน้ำนม
แผลตำแหน่งราวนมเหมาะสำหรับคนที่ต้องการฟื้นตัวเร็ว หรือ ต้องแก้ไขรูปทรงหน้าอกมาก และสามารถดูแลแผลหลังผ่าตัดได้ดี
7 ขั้นตอนการเตรียมตัวทำนม (เบื้องต้น) เพื่อเข้ารับการผ่าตัดเสริมหน้าอก ที่ PSC Clinic
การผ่าตัดแก้ไขเสริมหน้าอก ปัญหาของการเสริมหน้าอก ที่พบบ่อย คือ พังผืด รูปทรงไม่เท่ากัน อกห่างมากเกินไป แผลนูน ซึ่งสามารถป้องกันได้และลดความเสี่ยงที่จะเกิดให้ต่ำมากที่สุด โดยศัลยแพทย์ต้องเข้าใจถึงสาเหตุการเกิดของภาวะต่างๆ เช่น พังผืดหลังเสริมหน้าอก สาเหตุที่สำคัญ คือ อักเสบเรื้อรังที่เกิดจากการผ่าตัด เลือดคั่ง หรือการติดเชื้อ จึงต้องป้องกันปัญหานี้ตั้งแต่ต้น โดยใช้เทคนิคผ่าตัดที่ถูกต้อง ควบคุมสภาพแวดล้อมขณะผ่าตัด มีความปลอดเชื้อ ภาวะหน้าอกหย่อน (Bottoming out) เกิดจาก การผ่าตัดเซาะฐานอกต่ำเกินไป หรือไม่มีการเพิ่มการรองรับน้ำหนักซิลิโคนในการผ่าตัด ป้องกันโดยการตรึงฐานอกให้แข็งแรง รวมถึงเทคนิคผ่าตัดเสริมกล้ามเนื้อรองรับที่ฐานอก ( MSMS) ซิลิโคนมีรอยย่น ( Ripples) เกิดจาก การใส่ในชั้นเหนือกล้ามเนื้อ ในคนผิวบางหรือ ซิลิโคนบางรุ่นที่มีรอยย่นมาก ทางป้องกันคือ เสริมใต้กล้ามเนื้อ และ การเลือกชนิดซิลิโคนรุ่นใหม่ๆที่มีรอยย่นต่ำ แผลนูน (hypertrophic scar) ป้องกันได้โดยเทคนิคการเย็บ วัสดุไหมเย็บที่ดี มีความแข็งแรง และการดูแลรักษาหลังผ่าตัดโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด
1 พ.ค. - เคสเสริมหน้าอก
รีวิวเคสเสริมหน้าอก จากคุณตาต้า โดย นพ.พีระ เทียนไพฑูรย์
READ MORE1 พ.ค. - เคสเสริมหน้าอก
รีวิวเคสเสริมหน้าอกจาก คุณตุ๊กติ๊ก โดย นพ.พีระ เทียนไพฑูรย์
READ MORE1 พ.ค. - เคสเสริมหน้าอก
รีวิวเคสเสริมหน้าอกจาก คุณ หทัยชนก ทัศนวงศ์ โดย นพ.พีระ เทียนไพฑูรย์
READ MORE1 พ.ค. - เคสเสริมหน้าอก
รีวิวเคสเสริมหน้าอกจาก คุณนัทตี้ โดย นพ.พีระ เทียนไพฑูรย์
READ MOREเสริม หน้าอกสามารถนิ่มได้ใกล้เคียงหน้าอกจริง โดยขึ้นกับปริมาณของเนื้อไขมันที่มี ปริมาณเนื้อเต้านม และชนิดของซิลิโคน และมีพังผืดด้วยหรือไม่
สามารถพบได้แต่น้อยมาก ขึ้นกับคุณภาพของผิวหนังและขนาดที่ใส่ใหญ่มากเกินไปหรือไม่
ให้นมบุตรได้ปกติ แนะนำไม่เกินประมาณ 6-8 เดือน เพื่อป้องกันการยืดขยายของเต้านมนานเกินไป
ไม่เพิ่มความเสี่ยง โดยความเสี่ยงเท่ากับคนปกติที่ไม่เสริมเต้านม
ปัจจุบันนิยมใช้ถุงซิลิโคนเจล ชนิดผิวนาโนเทคเจอร์ หรือผิวเรียบ เลือกขนาดที่พอเหมาะกับร่างกาย ตามสภาพขนาดลำตัวและลักษณะผิวหนัง ความหนาบางของเต้านม การคล้อยตัวของหน้าอก โดยอยู่ในคำแนะนำของศัลยแพทย์
แนะนำพักกล้ามเนื้อและแผลผ่าตัดประมาณ 6 เดือน
แนะนำผ่าตัดหลังจากอายุ 17 ปี ขึ้นไป เพื่อรอให้เต้านมเจริญเติบโตเต็มที่ก่อน
ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทุก 10 ปี แนะนำให้ทำ MRI scan ที่ระยะ 8-9 ปี หลังผ่าตัด เพื่อตรวจเช็คถุงซิลิโคน หากปกติสามารถใช้ต่อได้โดยทำสแกนซ้ำทุกๆ 3 ปี
การเกิดพังผืดเกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอม ปัจจุบันพบน้อยมากราว 0.2% ในการผ่าตัดสมัยใหม่
เริ่มตั้งแต่การผ่าตัดต้องบาดเจ็บน้อย เพื่อลดการอักเสบและการตอบสนองให้มากที่สุด รวมถึงการเลือกซิลิโคนชนิดที่ร่างกายตอบสนองน้อย ( Biocompatibility ดี) และมีความคงทนสูง ไม่มีการซึมของเจลได้ง่าย( Gel bleed) และการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดที่ถูกต้อง
เริ่มตั้งแต่การผ่าตัดต้องบาดเจ็บน้อย เพื่อลดการอักเสบและการตอบสนองให้มากที่สุด รวมถึงการเลือกซิลิโคนชนิดที่ร่างกายตอบสนองน้อย ( Biocompatibility ดี) และมีความคงทนสูง ไม่มีการซึมของเจลได้ง่าย( Gel bleed) และการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดที่ถูกต้อง
ทำได้ตามปกติแต่ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้าอกที่มากเกินไปในช่วงที่กล้ามเนื้ออักเสบโดยเฉพาะช่วง 1 เดือนแรก
นอกจากการผ่าตัดการเย็บที่ดีแล้ว ให้หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่มากเกินไป เพื่อลดแรงดึงที่แผล และปิดแผ่นเจล ทายาที่แผลผ่าตัดในระยะเวลา 6 เดือน อย่างเคร่งครัด
พบว่าเกิดได้ในชาวตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ ถือเป็นโรคหายาก เกี่ยวข้องกับซิลิโคนชนิดผิวทรายหยาบแบบดั้งเดิม ที่กระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองเป็นระยะเวลานาน ไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับซิลิโคนชนิดผิวเรียบหรือทรายกึ่งเรียบ
ในปัจจุบันองค์การอนามัยโลกยังไม่แนะนำคนไข้ให้ผ่าตัดซิลิโคนชนิดผิวทรายแบบดั้งเดิมนึ้ออก
เพราะความเสี่ยงต่ำมาก แนะนำให้สังเกตอาการโดยปรึกษาแพทย์
คลินิกเฉพาะทางด้านศัลยกรรมเสริมจมูกและหน้าอก