รีวิวแก้จมูกคุณจันจิ (ดารานักแสดง) แก้จมูก คุณจันจิ นักแสดงคนดัง ดาราสุดสวย ผลงานผ่าตัดโดย อจ.พีระ PSC แก้ไขจมูกงุ้ม ...
Read Moreหลายท่านคงเคยนึกสงสัยว่า การที่รูปทรงจมูกของแต่ละคนแตกต่างกันนั้นเพราะอะไร ทำไมจมูกบางคนถึงสวยได้รูปกว่าคนอื่น แท้ที่จริงแล้วโครงสร้างของจมูกนั่นเองที่แตกต่างกัน ซึ่งแนวคิดนี้คือ “หากสามารถแก้ไขโครงสร้างทุกชนิดให้สวยใกล้เคียงกันได้ ย่อมสามารถปรับแต่งรูปทรงให้สวยแบบใดก็ได้เช่นกัน”
ด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการศัลยกรรมตกแต่ง เสริมหน้าอก ทำนม ศัลยกรรมหน้าอก (Breast surgery) และศัลยกรรมจมูก (เสริมจมูก) และใบหน้า (Nose& Facial surgery) ประสบการณ์มากกว่า 17 ปี
โครงสร้างของจมูก ประกอบไปด้วย
ตัวอย่างการรักษาโดยทีมแพทย์ และทำความรู้จักกับเทคโนโลยี หรือเครื่องมือที่ทันสมัยของคลินิก
เสริมจมูก ด้วยซิลิโคนจรดปลายจมูก (Conventional Nasal implant technique) หมายถึง การเหลาซิลิโคนให้ได้รูปทรง สอดไว้ใต้ผิวหนัง วางทับอยู่บนกระดูกสันจมูกและกระดูกอ่อนปลายจมูก ซึ่งเป็นวิธีเดิมที่ศัลยแพทย์ใช้กันมานานหลายสิบปี อย่างไรก็ตามเป็นที่รู้กันว่า ถ้าระยะเวลานานพอ เช่น 1-2 ปีขึ้นไป ไม่ว่าศัลยแพทย์จะระมัดระวังอย่างไร หรือราคาทำผ่าตัดแพงหลายหมื่นหลายแสนแค่ไหน ซิลิโคนจะนิ่มหรือยืดหยุ่นมากแค่ไหน (Softness or durability) หากไม่ปฏิเสธความจริงก็จะพบว่าสามารถเกิดปัญหาผิวหนังที่ปลายจมูกบางลงจนเกิดความไม่ธรรมชาติ มองเห็นซิลิโคนได้ หรือบางครั้งรุนแรงจนปลายจมูกทะลุได้ (ดังภาพ) และการจะแก้ไขให้กลับมาในสภาพที่ปกติหลังจากเกิดการทะลุนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก หรือทำไม่ได้เลย เพราะปลายจมูกจะหดสั้นลง มีการบุ๋มของเนื้อเยื่ออย่างถาวรจากผิวหนังที่บางมาก และแผลเป็นหดรั้งจากภายใน
ข้อดี : คือ ค่าใช้จ่ายถูก ศัลยแพทย์ผ่าตัดได้รวดเร็ว
ข้อเสีย : คือ ความเสียหายต่อเนื้อเยื่อโดยเฉพาะที่ปลายจมูกในระยะยาว อาจรุนแรงมากจนทะลุได้ เวลาสัมผัสที่ปลายจมูกยังรู้สึกถึงซิลิโคนได้ ไม่ธรรมชาติ
เสริมจมูก ด้วยซิลิโคนจรดปลายจมูก + วางกระดูกอ่อนเสริมเย็บครอบไว้ที่ปลายซิลิโคน (Conventional Nasal implant technique + Cartilage graft) (ทาง PSC ไม่ได้ใช้วิธีนี้) หมายถึง การผ่าตัดตามข้อ 1 แต่เพิ่มการวางกระดูกอ่อนชิ้นหนึ่ง ครอบไว้หน้าต่อปลายแท่งซิลิโคน เพื่อลดปัญหาการบางหรือทะลุของผิวหนังปลายจมูก สามารถเพิ่มความปลอดภัยได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่อาจพบ คือ
ข้อดี : คือ ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก การผ่าตัดทำได้รวดเร็ว เพราะไม่ต้องแก้โครงสร้างจมูก
ข้อเสีย : คือ มีความเสี่ยงเรื่องการมองเห็นชิ้นกระดูกอ่อนเป็นวงที่ปลายจมูกมีโอกาสเกิดการสลายไปของกระดูกอ่อน และเวลาสัมผัสที่ปลายจมูกยังรู้สึกถึงซิลิโคนได้
เสริมจมูก โดยการวางซิลิโคนหรือวัสดุอื่นเช่น Gore-tex เพื่อเสริมเฉพาะที่สันจมูก ร่วมกับการปรับแต่งโครงสร้างกระดูกอ่อนที่ปลายจมูกและการเสริมกระดูกอ่อนที่ปลายจมูก (Nasal bridge implant + Nasal tip framework reshaping + cartilage graft) (หมอพีระได้นำมาพัฒนาต่อเนื่องจนปัจจุบันกลายเป็นเทคนิคเฉพาะ PSC Technique)
ซึ่งการปรับแต่งปลาย บางครั้งหมอเรียกย่อๆว่า Tip Modification แต่แท้ที่จริงแล้วคนที่วางคอนเซปท์เรื่องนี้นานมาแล้ว คือ Professor Jach H.Sheen ปัจจุบันอยู่ที่ California ,USA ซึ่งตอนนั้นนิยมใช้กระดูกอ่อนกั้นกลางจมูก (Septum) แต่ในปัจจุบันในวงการจะนิยมใช้กระดูกอ่อนจากส่วนหลังใบหู (Concha) หรือ กระดูกกั้นกลางจมูกก็ได้
วิธีนี้ในปัจจุบันได้รับการยอมรับอย่างสูงในวงการศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะด้านเสริมจมูกและตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ระดับนานาชาติมากมาย และพิสูจน์แล้วว่ามีความปลอดภัยสูงที่สุดและคงทนถาวร เพราะสาเหตุดังนี้
ข้อดี: ความคงทน สวยงามและปลอดภัยระยะยาว เวลาสัมผัสเป็นธรรมชาติเนื่องจากเป็นปลายกระดูกอ่อนจริง
ข้อเสีย : ความซับซ้อนของการผ่าตัดสูงมากหลายเท่า ใช้เวลาผ่าตัดนานหลายชั่วโมง ค่าใช้จ่ายสูงผลลัพธ์ขึ้นกับเทคนิคค่อนข้างมาก และหากไม่ชำนาญการแก้ไขจะยากกว่าจึงต้องมีความแม่นยำสูง
กรณีการใช้กระดูกอ่อนเทียม เพื่อพยายามมาใช้แทนกระดูกอ่อนจริงนั้น วัสดุชนิดนี้แท้จริงคือ MEDPOR หรือ porous polyethylene จะมีรูพรุนให้เนื้อเยื่อเข้าไปยึดเกาะ หมอเลิกใช้ไปเมื่อหลายปีก่อนเนื่องจากพบปัญหาสำคัญคือ ยังมีโอกาสทะลุได้พอสมควร และปลายจมูกจะแข็งไม่มีการเคลื่อนไหวที่ดี (Stiffness) ปัจจุบันศัลยแพทย์ด้านทำจมูกที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศก็ไม่นิยมใช้เช่นกัน
สำหรับโดยส่วนตัว หมอชื่นชอบวิธีที่ 3 นี้ และใช้เป็นมาตรฐานในการผ่าตัดจมูก และได้ริเริ่มพัฒนามานาน ซึ่งที่ต่างประเทศก็มีการผ่าตัดลักษณะนี้อย่างแพร่หลายเช่นกันเนื่องจากปลอดภัยกว่าวิธีเดิม หมอได้นำมาใช้กับคนไข้ตนเองตั้งแต่ยุคที่ในเมืองไทยยังไม่ค่อยรู้จัก บางศัลยแพทย์จึงยังออกความเห็นต่อต้านสิ่งเหล่านี้อยู่ ตอนที่มีสื่อมาสัมภาษณ์ก็เกิดกระแสต่อต้านรุนแรงพอสมควร หมออดทนพัฒนาเรื่อยมาให้ได้งานที่สมบูรณ์ และปัจจุบันกลายเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้ว ที่คลินิกเองคนไข้จะมาปรึกษาเรื่องการผ่าตัดจมูกชนิดนี้เป็นหลัก จนแทบจะยกเลิกการผ่าตัดสองวิธีแรกไปแล้ว ทั้งที่แต่ก่อนหมอก็ชอบใช้ซิลิโคนเสริมจมูก และเห็นว่าสะดวกดี
ข้อจำกัดคือ ความซับซ้อนในการผ่าตัดซึ่งมากกว่าปกติหลายเท่า ใช้เวลาผ่าตัดนานเกือบ 3.5 ชั่วโมง/ราย ที่ PSC จึงรับเคสเพียงวันละ 1 รายเท่านั้น ยิ่งเคสแก้ไขยิ่งยากทวีคูณเพราะเซนสิทีฟมาก เพราะโครงสร้างทุกอย่างต้องซ่อมส่วนที่เสียหายจากซิลิโคนเดิมเสียก่อนและผิวหนังก็มักจะบางมาก
ในแง่ของคนไข้เอง คนที่สนใจในการผ่าตัดชนิดนี้ก็ควรสอบถามศัลยแพทย์ของตนในรายละเอียดว่าการผ่าตัดเสริมจมูกเป็นวิธีไหนในระหว่าง 3 วิธีดังกล่าว และอาจต้องตัดสินใจในแง่ของความเสี่ยง ข้อดี ข้อเสีย และ ค่าใช้จ่ายที่ตนเองยอมรับได้ด้วยเช่นกันครับ
ข้อดี : คือ ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก การผ่าตัดทำได้รวดเร็ว เพราะไม่ต้องแก้โครงสร้างจมูก
ข้อเสีย : คือ มีความเสี่ยงเรื่องการมองเห็นชิ้นกระดูกอ่อนเป็นวงที่ปลายจมูกมีโอกาสเกิดการสลายไปของกระดูกอ่อน และเวลาสัมผัสที่ปลายจมูกยังรู้สึกถึงซิลิโคนได้
จริงๆแล้วไม่จำเป็น เป็นเพียงความเชื่อ ด้วยสื่อโฆษณาต่างๆและการชักชวนของเอเจ้นท์ ทำให้ปีหนึ่งๆคนไทยได้บินไปและเสียค่าผ่าตัดสูงกว่าที่จำเป็นถึงสองสามเท่าตัว ยังไม่รวมค่าตั๋วเครื่องบินและที่พัก และยังมีเคสกลับมาแก้ไขที่เมืองไทยบ่อยๆ รวมถึงผลแทรกซ้อนต่างๆเพราะไม่สามารถดูแลใกล้ชิดได้
รีวิวแก้จมูกคุณจันจิ (ดารานักแสดง) แก้จมูก คุณจันจิ นักแสดงคนดัง ดาราสุดสวย ผลงานผ่าตัดโดย อจ.พีระ PSC แก้ไขจมูกงุ้ม ...
Read Moreรีวิวแก้จมูกคุณนิวเคลียร์(ดารานักแสดง) แก้จมูกคุณนิวเคลียร์ หรรษา by อจ พีระ PSC (# สำหรับผลงานระยะยาว ติดตามคุณนิวเคลึยร์ได้ใน...
Read Moreรีวิว เคสแก้จมูก คุณ สอง ณัชชา นางแบบ และ Influencer เคสแก้จมูก คุณ...
Read Moreรีวิวเคสแก้จมูก คุณน้ำหนึ่ง (Youtuber) ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการศัลยกรรมตกแต่ง เสริมหน้าอก ทำนม ศัลยกรรมหน้าอก (Breast surgery) และศัลยกรรมจมูก...
Read Moreเสริม หน้าอกสามารถนิ่มได้ใกล้เคียงหน้าอกจริง โดยขึ้นกับปริมาณของเนื้อไขมันที่มี ปริมาณเนื้อเต้านม และชนิดของซิลิโคน และมีพังผืดด้วยหรือไม่
สามารถพบได้แต่น้อยมาก ขึ้นกับคุณภาพของผิวหนังและขนาดที่ใส่ใหญ่มากเกินไปหรือไม่
ให้นมบุตรได้ปกติ แนะนำไม่เกินประมาณ 6-8 เดือน เพื่อป้องกันการยืดขยายของเต้านมนานเกินไป
ไม่เพิ่มความเสี่ยง โดยความเสี่ยงเท่ากับคนปกติที่ไม่เสริมเต้านม
ปัจจุบันนิยมใช้ถุงซิลิโคนเจล ชนิดผิวนาโนเทคเจอร์ หรือผิวเรียบ เลือกขนาดที่พอเหมาะกับร่างกาย ตามสภาพขนาดลำตัวและลักษณะผิวหนัง ความหนาบางของเต้านม การคล้อยตัวของหน้าอก โดยอยู่ในคำแนะนำของศัลยแพทย์
แนะนำพักกล้ามเนื้อและแผลผ่าตัดประมาณ 6 เดือน
แนะนำผ่าตัดหลังจากอายุ 17 ปี ขึ้นไป เพื่อรอให้เต้านมเจริญเติบโตเต็มที่ก่อน
ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทุก 10 ปี แนะนำให้ทำ MRI scan ที่ระยะ 8-9 ปี หลังผ่าตัด เพื่อตรวจเช็คถุงซิลิโคน หากปกติสามารถใช้ต่อได้โดยทำสแกนซ้ำทุกๆ 3 ปี
การเกิดพังผืดเกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอม ปัจจุบันพบน้อยมากราว 0.2% ในการผ่าตัดสมัยใหม่
เริ่มตั้งแต่การผ่าตัดต้องบาดเจ็บน้อย เพื่อลดการอักเสบและการตอบสนองให้มากที่สุด รวมถึงการเลือกซิลิโคนชนิดที่ร่างกายตอบสนองน้อย ( Biocompatibility ดี) และมีความคงทนสูง ไม่มีการซึมของเจลได้ง่าย( Gel bleed) และการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดที่ถูกต้อง
เริ่มตั้งแต่การผ่าตัดต้องบาดเจ็บน้อย เพื่อลดการอักเสบและการตอบสนองให้มากที่สุด รวมถึงการเลือกซิลิโคนชนิดที่ร่างกายตอบสนองน้อย ( Biocompatibility ดี) และมีความคงทนสูง ไม่มีการซึมของเจลได้ง่าย( Gel bleed) และการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดที่ถูกต้อง
ทำได้ตามปกติแต่ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้าอกที่มากเกินไปในช่วงที่กล้ามเนื้ออักเสบโดยเฉพาะช่วง 1 เดือนแรก
นอกจากการผ่าตัดการเย็บที่ดีแล้ว ให้หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่มากเกินไป เพื่อลดแรงดึงที่แผล และปิดแผ่นเจล ทายาที่แผลผ่าตัดในระยะเวลา 6 เดือน อย่างเคร่งครัด
พบว่าเกิดได้ในชาวตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ ถือเป็นโรคหายาก เกี่ยวข้องกับซิลิโคนชนิดผิวทรายหยาบแบบดั้งเดิม ที่กระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองเป็นระยะเวลานาน ไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับซิลิโคนชนิดผิวเรียบหรือทรายกึ่งเรียบ
ในปัจจุบันองค์การอนามัยโลกยังไม่แนะนำคนไข้ให้ผ่าตัดซิลิโคนชนิดผิวทรายแบบดั้งเดิมนึ้ออก
เพราะความเสี่ยงต่ำมาก แนะนำให้สังเกตอาการโดยปรึกษาแพทย์
คลินิกศัลยกรรมตกแต่ง PSC ให้บริการโดยแพทย์เฉพาะทาง และเครื่องมือที่มีมาตรฐาน ทันสมัย ด้วยประสบการณ์มากกว่า 17 ปี ในสายอาชีพศัลยกรรม ได้รับรางวัลและเป็นวิทยากรรับเชิญชั้นนำในระดับนานาชาติ ทั้งด้านบริการ เสริมจมูก และ บริการเสริมหน้าอก ทำนม โดยคุณหมอพีระ เทียนไพฑูรย์ ศัลยแพทย์ตกแต่ง PSC Clinic | Plastic Surgery Skin & Laser